|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
กายจิต ( Etheric Body หรือ Astral Body ) เป็นกายละเอียดที่มีลักษณะเป็นพลังงานเรืองแสงขนาดเท่ากายเนื้อหรือบางทีขยายตัวใหญ่กว่ากายเนื้อประมาณ 4-5 นิ้วโดยแทรกตัวอยู่ในกายเนื้อหรือแนบสนิทซ้อนเป็นพิมพ์เดียวกับกายเนื้อ ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าแต่สามารถเห็นได้ด้วยพลังสมาธิ ส่วนการติดต่อระหว่างกายเนื้อกับกายจิตสามารถทำได้ โดย ผ่าน จักระ กายจิต ประกอบด้วยองค์ประกอบ 2 ประการคือ 2.1 จักระ ( Chakaras ) เป็นศูนย์รวมของพลังงาน ซึ่งมีจำนวนมากมายกระจายไปทั่วกายจิต แต่จักระสำคัญมี 7 จักระ ซึ่งมีแสง สี และเสียง แตกต่างกันไป 2.2 ช่องทางเดินพลัง ( Nadi ) เป็นท่อเล็กๆ ที่แผ่กระจายไปทั่วกายจิต ซึ่งเปรียบได้กับหลอดเลือดที่แผ่กระจายไปทั่วร่างกายเนื้อหน้าที่หลักของกายจิตคือทนุบำรุงกายเนื้อ โดยการดูดซับพลังจากธรรมชาติหรือจากจักรวาลและพลังปราณแล้วย่อยสลายพลังให้ละเอียดพร้อมกับส่งไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆ ของกายเนื้อ ผ่านท่ออวัยวะแต่ละส่วน พลังงานละเอียดนี้มีลักษณะ เป็นแสง เป็นสี เป็นเสียง กายเนื้อส่วนไหนอ่อนล้า กายจิตก็จะส่งพลังไปช่วย ในกรณีที่กายจิตไม่สามารถทำหน้าที่ตามปกติ ได้ ก็จะเกิดอาการเจ็บป่วยตรงส่วนนั้น ตัวการทำลายพลังกายจิตคือ ความเครียด ความโกรธ อนึ่ง กายจิตที่อยู่แนบสนิทกับกายเนื้อนี้ สามารถถอดกายจิตออกจากกายเนื้อ เพื่อไปยังสถานที่ที่กายจิตต้องการไปได้ โดยการเพ่งจิตไปที่ต่อมไพนีล ( Pineal ) ทำให้ต่อมไพนีลเกิดการสั่นสะเทือน ( Vibration ) แล้วโซล่าเพล็กซัส ( Solar Plexus ) ขยายตัว จากนั้นจิตก็ออกจากกายเนื้อไปยังสถานที่ที่ต้องการ การถอดกายจิตนี้ใช้ในการรักษาโรคทางไกล ( Tele Medicine ) ได้นั่นเอง สุขภาพของกายจิตมีอิทธิพล ต่อสุขภาพของกายเนื้อ ความรู้ทางการ แพทย์ปัจจุบันรักษาได้เพียงกายเนื้อระดับ หนึ่งเท่านั้น การเรียนรู้เพื่อทำความรู้จัก กายจิตของเรา เป็นสิ่งทีไม่เสียหลาย กลุ่มคนที่ฝึกสมาธิจนมีพลังสมาธิสูงได้ประจักษ์แล้วว่าในกายเนื้อของมนุษย์นั้นมีกายทิพย์คอยทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบต่างๆ ในกายเนื้อให้สามารถทำงานประสานอย่างสมดุล ขณะเดียวกันจะช่วยซ่อมแซมกายเนื่อส่วนที่อ่อนล้าด้วยการควบคุมผ่านทาง จักระ ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของกายทิพย์ของมนุษย์นั่นเอง จักระ มาจากภาษาสันสกฤต (Chakras) แปลว่า วงล้อเป็นกลุ่มแสงซึ่งเป็นศูนย์รวมของพลังงานที่หมุนรอบตัวเองอยู่ตลอดเวลาในทิศทางตามเข็มนาฬิกา มีลักษณะเป็นวงกลมเรืองแสง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 นิ้ว คล้ายดอกบัวบาน แต่ละจักระปรากฎให้เห็นเป็น เส้นแสง มีสีเป็นประกายแตกต่างกันไป ลักษณะการหมุนของจักระเป็นแสงกระจายเหมือนซีล้อ เป็นเส้นแสงมีตั้งแต่หยาบถึงละเอียด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเร็วและการหมุนของจักระ ในกรณีที่จักระหมุนเร็วและแรงจะเห็นเป็นเปลวแสงลุกโชน ความเร็วและความแรงของการหมุนของจักระจะเป็นตัวบ่งชี้สุขภาพสุขภาพของมนุษย์ ซึ่งสามารถเห็นได้โดยผ่านสมาธิ ผู้ที่สามารถพัฒนาสมาธิได้ในระดับสูง จะเห็นเป็นรูปร่าง แสง สี ตลอดทั้งเสียง (ของการหมุน) ของจักระต่างๆ ได้อย่างชัดเจนมากทั้งจักระของตนเองหรือจักระของผู้อื่น "ตำแหน่งของ
จักระ ในร่างกายของมนุษย์ " จักระทั้ง 7 ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของต่อมไร้ท่อ ระบบต่างๆ และอวัยวะต่างๆ ของกายเนื้อแตกต่างกันไปดังนี้
นอกเหนือจาการทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกายเนื้อดังกล่าวแล้วจักระยังทำหน้าที่ดูดซับเองพลังงานที่มีอยู่ในธรรมชาติ อาทิ อากาศ ดิน น้ำ ต้นไม้ แสงอาทิตย์ และชั้นบรรยากาศ พลังปราณะ ( Prana ) มาเป็นอาหารหล่อเลี้ยงกายทิพย์ พร้อมๆ กันนี้ต้องทำหน้าที่ย่อยพลังที่ได้นี้ให้ละเอียด แล้วส่งกลับไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของกายเนื้อพลังจากธรรมชาติสามารถเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ได้โดยผ่าน จักระที่ 7 และ จักระที่ 1 โดยที่จักกระที่ 7 จะดูดซับจากชั้นบรรยากาศและแสงอาทิตย์ ส่วนจักระที่ 1 จะดูดซับพลังจากพื้นดินพลังที่เข้าสู่ร่างกายมนุษย์แล้วจะวิ่งตามช่องทางเดินพลัง ( Nadi ) "ช่องทางเดินพลังของกายจิตซึ่งมี 3 ช่องทาง"
*** หากต้องการนำบทความนี้ไปเผยแพร่หรือต้องการติดต่อนักเขียนกรุณาติดต่อมาที่ Boss_Deva@hotmail.com หรือ... @Noppamas Panmanee. Homosapiens Teme. / Po.box 260 Dusit Bkk. 10300
|